กระแสความนิยมอาหารญี่ปุ่นในบ้านเรายังคงมีต่อเนื่อง แม้ว่าร้านอาหารญี่ปุ่นจะเติบโตในเมืองไทยมานานกว่า 30 ปีแล้วนั่นเป็นเพราะว่า อาหารญี่ปุ่นมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งรสชาติ วัตถุดิบ และความเป็นศิลปะ จึงทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นยังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกแรก ๆ ของผู้บริโภค แต่ในมุมผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่นสถานการณ์การแข่งขันถือว่าเข้มข้นไม่เบา เพราะปัจจุบันมีแบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นมากกว่า 2,000 ร้านทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เป็นโจทย์ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ตลาดนี้ยังคงเปิดกว้างต้อนรับผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ แต่การจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องมีสิ่งที่ต้องวิเคราะห์และคำนึงถึงดังต่อไปนี้
วิเคราะห์ทำเล กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
เรื่องแรกที่ต้องวิเคราะห์กันตั้งแต่เริ่มต้นก็คือ เรื่องของทำเล เพราะทำเลจะเป็นตัวกำหนดกลุ่มเป้าหมายของร้าน และกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวกำหนดคอนเซ็ปต์ร้าน อย่างที่รู้ ๆ กันว่า ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ ข้อดีอย่างหนึ่งของร้านอาหารญี่ปุ่นคือเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน และเป็นหนึ่งในประเภทอาหารยอดนิยมมมาตลอดทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับทำเลต่าง ๆ ได้ค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตามทำเลมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของร้าน ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ร้าน ประเภทเมนู คุณภาพวัตถุดิบและการตั้งราคา เช่นหากเลือกตั้งอยู่ในทำเลย่านสถานศึกษาแม้โอกาสทางการขายในแง่ของจำนวนลูกค้าอาจมีมาก แต่รายได้ค่าเฉลี่ยต่อหัวอาจน้อยกว่าทำเลใกล้ออฟฟิศสำนักงาน หรือหากเป็นทำเลที่มีประชากรชาวญี่ปุ่นอยู่อาศัย เช่น สุขุมวิท นานา ย่านนิคมอุตสาหกรรมอย่างชลบุรี อยุธยา ร้านอาหารญี่ปุ่นก็ควรจะเน้นไปในสไตล์ Originalดั่งเดิม เน้นเรื่องคุณภาพวัตถุดิบ จำนวนลูกค้าแต่ละวันอาจจะไม่ได้มาก แต่โอกาสทำยอดขายค่าเฉลี่ยต่อหัว ต่อบิลอาจสูงกว่าทำเลอื่น ๆ
และหากจุดตั้งต้นความคิดการทำร้านอาหารไม่ได้ติดอยู่กับรูปแบบว่าจะต้องเป็นร้าน Standalone เท่านั้น ทำเลอย่าง Food Court ในศูนย์การค้าก็เป็นจุดรวมทราฟฟิกผู้คนที่ดี การลงทุนในด้านระบบพื้นฐานก็น้อย เพราะทางศูนย์จัดการให้ หรือทำเลตามตลาดที่ปัจจุบันมีทั้งตลาดเช้า ตลาดกลางคืน แม้แต่ตลาดนัดก็สามารถเปิดร้านขายอาหารญี่ปุ่นได้ โดยสรุป เรื่องทำเลเป็นเรื่องสำคัญมากอันดับแรก ๆ ที่ต้องให้เวลาทำการวิเคราะห์ เพราะอย่างที่บอกแต่ละทำเลพฤติกรรมลูกค้าก็แตกต่างกัน ความต้องการก็ต่างกัน ซึ่งจะส่งผลมาถึงการวางคอนเซ็ปต์ร้าน การกำหนดเมนู และราคาอาหาร
- ค่าใช้จ่ายประมาณการต่าง ๆ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
คงไม่ดีแน่ถ้าคิดจะเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นแต่ตัวเจ้าของร้านไม่มีความรู้เรื่องวัตถุดิบ การทำเมนูต่าง ๆ เลย เพราะอาหารญี่ปุ่นได้ชื่อว่าวัตถุดิบแต่ละรายการมีต้นทุนค่อนข้างจะสูงกว่าอาหารทั่วไป แถมอายุการใช้งานในบางรายการก็สั้นเช่น เนื้อปลา และการดูแลการเก็บรักษาก็ยังมีความเฉพาะตัวต่างจากวัตถุดิบอาหารอื่น ๆ ดังนั้นถ้าเจ้าของกิจการไม่รู้เรื่องวัตถุดิบเลยโอกาสก็ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจนี้
มีจุดขายให้ลูกค้าจดจำ การตลาดแม่นยำตรงกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อเราได้ทำเลที่เหมาะแล้ว จัดสรรงบประมาณลงทุนได้ลงตัว มีความรู้เรื่องวัตถุดิบ มีเมนูพร้อมขาย เซ็ตอัพระบบ Operation เรียบร้อย ก็อย่าลืมเรื่องจุดขายของร้านอย่างที่รู้ ๆ กันว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นมีตัวเลือกมากมายถ้าร้านเราไม่มีจุดขายให้เป็นที่จดจำการแข่งขันก็จะเหนื่อย จุดขายเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบรรยากาศร้านเท่านั้น เพราะลูกค้าบ้างครั้งก็ไม่ได้สนใจมานั่งที่ร้านแต่เลือกสั่งผ่านเดลิเวอรี่ ดังนั้นเรื่องเมนู เรื่องวัตถุดิบ โดยเฉพาะการใส่ Story ให้กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ เช่นเดียวกันการเฟ้นหาสุดยอดวัตถุดิบหายากในแต่ฤดูกาลก็สามารถเป็นจุดขายของร้านได้ มีจุดขายยังไม่พอ การตลาดก็ต้องทำให้ถึง ให้แม่นยำตรงกลุ่มเป้าหมาย ยุคนี้ต้องเน้นหนัก ๆ การตลาดโซเชียลทั้งหลาย วางแผนบประมาณสำหรับการทำการตลาด การยิงแอดโฆษณาไว้ในต้นทุนดำเนินการ เพื่อให้สามารถทำ Marketing Plan ได้เกิดเป็นความสม่ำเสมอ เรื่องราวของร้านขึ้นหน้าฟีดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่อเนื่องเกิดการอยากรู้จัก อยากมาลอง ทั้งหมดต้องเป็นการวางแผนไม่ใช่นึกจะทำก็ทำ
สามารถเรียนรู้เรื่องการทำการตลาดออนไลน์ได้จากหลักสูตร “โปรโมทร้านอาหารในออนไลน์ ให้ยอดขายพุ่งขึ้น 10 เท่า” โดย ครูทิป หลักสูตรเรียนฟรีจาก MHA ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเบื้องต้นสำหรับคนที่สนใจจะเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นควรทำการวิเคราะห์ และคำนึงถึงหากต้องการความสำเร็จ เปิดแล้วมีลูกค้า ได้กำไร แต่ก็ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องรู้นอกเหนือจากจากนี้ เพราะการทำร้านอาหารไม่ว่าจะเป็นร้านประเภทใด ร้านอะไรก็ตาม ยุคนี้ความรู้คือสิ่งสำคัญ คนสำเร็จและคนล้มเหลวต่างกันที่ความรู้ ซึ่งท่านสามารถหาความต่าง ๆ ในการจัดการร้านอาหารได้จากหลักสูตรออนไลน์เรียนฟรีจาก MHA